New Somthai Motor Work : ปรับปรุงระบบอัดอากาศ

น้ำที่พบในระบบอัดอากาศนั้นเกิดขึ้นจากปริมาณไอน้ำในอากาศ เป็นผลมาจากการถ่ายเทพลังงานความร้อนจนเกิดการควบแน่นของน้ำ (Condense) โดยปัจจัยที่ทำให้ปริมาณน้ำมีค่าสูง มีดังนี้


หมายความว่ายิ่งเครื่องอัดอากาศมีขนาดใหญ๋ ปริมาณน้ำยิ่งมาก

เป็นตัวแปรสำคัญที่เกิดให้เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิอากาศจนเกิดการควบแน่น

ยิ่งอากาศมีความชื้นมาก ปริมาณน้ำยิ่งเยอะ โดยเฉพาะในฤดูร้อนและฤดูฝน

อากาศอัดที่มีความดันต่ำ ย่อมมีปริมาตรของอากาศเยอะ ทำให้ปริมาณน้ำเยอะเช่นกัน


ภาพที่ 1 : ปริมาณน้ำที่เกิดขึ้นจากการเปิดวาล์วใต้ถังพักอากาศอัด และน้ำที่เกิดจากการระบายของเครื่องอัดอากาศ

ในกรณีของทางบริษัท นิวสมไทยมอเตอร์เวอร์ค จำกัด ใช้เครื่องอัดอากาศขนาด 100 HP หากคิดอุณหภูมิโดยรอบที่ 28 องศา ความชื้นสัมพัทธ์ 75% ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง จะมีปริมาณน้ำออกมา 280 ลิตร/วัน หรือปีละ 102,200 ลิตร ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณน้ำในสระว่ายน้ำที่มีขนาด กว้าง 6 ยาว 12 และลึก 1.5 เมตร เลยทีเดียว

มาตรการแก้ไขปัญหาน้ำในระบบ


โรงงานส่วนใหญ่นั้นมักจะเลือกใช้ Auto Drain แบบตั้งเวลา เพื่อลดปัญหาการถอดล้างเดรนเนื่องจากอุดตันและป้องกันน้ำเข้าระบบ โดยมักตั้งเวลาให้ปล่อยน้ำอย่างสม่ำเสมอ เช่นทุก ๆ 3 นาที แต่เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศแบบร้อนชื้น ทางโรงงานจึงควรมีการพิจารณาปรับเวลาของ Timer drain ให้เหมาะสม เช่น ในฤดูร้อนและฤดูฝน มีปริมาณความชื้นในอากาศค่อนข้างมาก หากทางโรงงานตั้งเวลาเดรนไว้นานเกินไปก็จะทำให้เดรน ไม่สามารถเดรนน้ำคอนเดนเสทออกมาได้หมด ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำในระบบอัดอากาศ หรือในฤดูหนาวที่มีปริมาณความชื้นในอากาศต่ำ เดรนอาจปล่อยอากาศอัดออกจนเกิดปัญหาแรงดันตก และเป็นการสูญเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์เช่นกัน ทางโรงงานอาจจะพิจารณาเพื่อเปลี่ยนเป็น Auto drain แบบ Zero loss drain ซึ่งสามารถช่วยลดการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ได้


อัดให้มีความลาดเอียงลงในทิศทางการไหล. เพื่อให้น้ำที่เกิดการควบแน่นคงค้างภายในท่อไหลไปยังจุดระบายน้ำที่เตรียมไว้ ซึ่งจุดระบายน้ำตามท่ออัดอากาศควรมีเพียงพอต่อการระบายน้ำด้วย


จากมาตรการดังกล่าวส่งผลให้เพิ่มระยะเวลา Unload ของเครื่องอัดอากาศมากขึ้น จากปริมาณน้ำที่ลดลงในถังพักอากาศอัด และท่อส่งอากาศอัด อีกทั้งยังทำให้เครื่องทำลมแห้งไม่ต้องรับภาระหนักในการทำงานมากจนเกินไป ส่งผลประหยัดมากกว่า 10,000 บาท/ปี โดยลงทุน 0 บาท เท่านั้น